หน่วยที่ 3

               ระบบหล่อลื่น 

แบบฝึกหัดก่อนเรียน

รถจักรยานยนต์จะเต็มไปด้วยส่วนที่เคลื่อนที่หรือหมุนด้วยความเร็วสูง ความเร็วที่มากมายนี้ย่อมทำให้เกิดการสึกหรออย่างรวดเร็วและมีความฝืด (Friction) สูง ฉะนั้นเพื่อเป็นการลดความฝืดและการสึกหรอให้น้อยลงมากที่สุดจึงจำเป็นต้องให้มรการหล่อลื่น โดยใช้สารที่มีคุณสมบัติสามารถลดความฝืด การเสียดสีต่าง ๆ เป็นตัวหล่อลื่น ซึ่งสารที่ใช้ในการหล่อลื่นที่ดีควรจะมีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
1. ช่วยลดการเสียดสีของชิ้นส่วนเพื่อให้เกิดการสึกหรอน้อยที่สุด
2. ช่วยระบายความร้อนให้กับชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ดี
3. เป็นตัวอุดรอยรั่ว (Seal) ระหว่างแหวนลูกสูบกับกระบอกสูบไม่ให้กำลังอัดรั่วไหล
4. ชะล้างผิวสัมผัสของชิ้นส่วนให้สะอาดอยู่เสมอ
ประเภทของการหล่อลื่นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ การหล่อลื่นแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การหล่อลื่นแบบเปียก (Wet Pump System)
2. การหล่อลื่นแบบแห้ง (Dry Pump System)
ชนิดปั๊มน้ำมันหล่อลื่น มี 2 แบบ คือ
1. แบบเฟือง (Gear Pump)
2. แบบ Trochiod
กรองน้ำมันหล่อลื่น (Oil Filter)
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ น้ำมันหล่อลื่นจะนำสิ่งสกปรกมาตกค้างอยู่ภายในไส้กรอง ทำให้ไส้กรองอุดตันและเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติ เพราะฉะนั้นจึงต้องทำความสะอาดและเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภทของการหล่อลื่นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
เครื่องยนต์ 2 จังหวะจึงต้องแยกส่วนที่หล่อลื่นออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่ห้องเพลาข้อเหวี่ยงกระบอกสูบ
2. ส่วนทีเป็นระบบส่งกำลัง (คลัตซ์, เกียร์, ระบบสตาร์ต เป็นต้น)
การหล่อลื่นที่เป็นห้องเพลาข้อเหวี่ยง


การส่งน้ำมันหล่อลื่นไปยังส่วนนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. แบบผสม
2. แบบแยกส่วน
ชนิดของปั๊มออโตลู๊ป แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบทั่วไป (General Pump)
2. แบบกำลังดันสูง (High Compression Type Pump)
การไล่ลมปั๊มออกโตลู๊ป ซึ่งวิธีการไล่ลมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไล่ลมจากถังเก็บน้ำมันหล่อลื่นไปยังปั๊ม กระทำได้ดังนี้
1.1 คลายสกรูไล่ลมที่ตัวปั๊ม
1.2 ปล่อยให้น้ำมันหล่อลื่นและฟองอากาศไหลออก
1.3 สังเกตดูจนกระทั่งน้ำมันที่ไหลออกมาไม่มีฟองอากาศปน
1.4 ขันสกรูไล่ลมให้แน่น

ขั้นตอนที่ 2 ไล่ลมจากปั๊มไปยังจุดหล่อลื่น กระทำได้ดังนี้
2.1 ติดเครื่องยนต์ให้อยู่ในจังหวะเดินเบา
2.2 ใช้นิ้วยกคันบังคับปั๊มให้อยู่ในตำแหน่งจ่ายน้ำมันออกสูงสุด
2.3 สังเกตควันที่ออกตามท่อไอเสียจะเพิ่มมากขึ้นแสดงว่าน้ำมันเริ่มเข้าไปยังจุดหแล้ว หรืออาจจะดึงปลายสายน้ำมันออกแล้วสังเกตว่ามีฟองอากาศปนออกมากับน้ำมันหรือไม่การตั้งมาร์คปั๊มออโตลู๊ป
เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นในปริมาณที่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องตั้งปั๊มให้ถูกต้อง และก่อนที่จะปรับตั้งต้องทำการปรับระยะฟรีของสายเร่งก่อนทุกครั้ง
วิธีการตั้งอยู่ 2 วิธี คือ (Mark)
1. แบบไม่มีมาร์คที่ลูกเร่ง (Mark)
2. แบบมีมาร์คที่ลูกเร่ง
ผลของการเติมน้ำมันหล่อลื่นไม่ถูกต้อง
เติมมากเกินไป จะทำให้
1. เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะไม่มีอากาศในห้องเกียร์ช่วยระบายความร้อน
2. เข้าเกียร์ยาก เพราะน้ำมันจะมีความกดดันสูงทำให้เฟืองเกียร์เลื่อนลำบาก
3. ทำให้คลัตซ์ลื่น
4. น้ำมันรั่วตามซีลต่าง ๆ
เติมน้อยเกินไป จะทำให้
1. การหล่อลื่นไม่เพียงพอ ลูกปืน เฟืองเกียร์ หรือ คลัตช์สึกเร็ว
2. เกิดเสียงดัง
3. เฟืองหรือก้ามปูไหม้


แบบฝึกหัดหลังเรียน